บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการขนส่งระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL TRANSPORTATION)


ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)
:      บริหารธุรกิจบัณฑิต (การขนส่งระหว่างประเทศ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย)
:      บธ.บ. (การขนส่งระหว่างประเทศ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ)
:      Bachelor of Business Administration (International Transportation)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)
:      B.B.A. (International Transportation)

จุดเด่น

ได้เรียนรู้เนื้อหา “ด้านบริหารธุรกิจขนส่งทุกรูปแบบ” ครอบคลุมการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม การบินทั้งระบบ กิจการพาณิชยนาวีธุรกิจการขนส่งผู้โดยสาร และสินค้าทางบก ธุรกิจขนส่งทางท่อสำหรับพลังงานเชื้อเพลิงและกิจกรรมอื่น ธุรกิจท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่ง ผู้โดยสารและสินค้า และธุรกิจตัวแทนต่างๆ รวมทั้งความรู้ ด้านความร่วมมือระหว่างประเทศและการเปิดเสรีด้านการขนส่ง สามารถบริหารจัดการงานด้าน Business Logistics ได้อย่าง เต็มรูปแบบครบวงจร



อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
  1. อาชีพที่สามารถประกอบได้
  2. เนื่องจากความรู้ในวิชาการขนส่ง (Transportation) ซึ่งครอบคลุมการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหน่วยงานทุกแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชาการขนส่งระหว่างประเทศ จึงสามารถประกอบอาชีพได้ทุกประเภท กล่าวคือ :

    • ประกอบอาชีพในฐานะนักวิชาการขนส่งและหรือผู้จัดการขนส่ง (หรือที่เรียกชื่ออย่างอื่น) ใน หน่วยงานรัฐและเอกชนทั้งหน่วยงานด้านการขนส่งและหรือหน่วยงานอื่น รวมทั้งองค์การ ระหว่างประเทศทุกแห่งและสมาคมระหว่างประเทศ ด้านการขนส่งและ หรือโลจิสติกส์
    • ประกอบอาชีพอิสระด้านการขนส่ง และโลจิสติกส์ได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
  3. ตำแหน่งงานที่มีให้เลือก
    • ตำแหน่งงานในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ
      - นักวิชาการขนส่ง / เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนขนส่ง / นักวิชาการพาณิชย์ / เจ้าหน้าที่การทูต / และหรือนักวิชาการที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น
    • ตำแหน่งงานในเอกชน (ในประเทศ / ต่างประเทศ)
      - นักวิชาการหรือพนักงานด้านการขนส่ง / ผู้จัดการด้านภารกิจขนส่ง (Traffic Manager) เจ้าหน้าที่โลจิสติกส์ (Logistician) ฯลฯ หรือตำแหน่งที่มีชื่อเรียกอื่น ในหน่วยงานขนส่ง หรือหน่วยงานอื่น ๆ
    • ตำแหน่งงานอื่นๆ (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
      - อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
      - นักวิชาการ (หรือที่มีชื่อเรียกอื่น) ในองค์การระหว่างประเทศทุกแห่ง และหรือสมาคมระหว่างประเทศด้านการขนส่ง
  4. อนาคต
    • ผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานรัฐและเอกชน
    • เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม / อัครราชทูตด้านการพาณิชย์/คมนาคม ฯลฯ
    • ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านธุรกิจขนส่ง /ฯลฯ
    • เจ้าของธุรกิจขนส่งและจัดการโลจิสติกส์ เช่น เจ้าของสายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทเดินรถขนส่งทางบก ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีขนส่งทางบก ตัวแทนเดินทางหรือขนส่ง และผู้จัดหาบริการจัดส่ง หรืออื่นๆ (Logistics Service Provider) ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ฯลฯ
    • ผู้พิพากษาสมทบ (ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง) ด้านการขนส่ง
    • ตำแหน่งทางวิชาการของผู้เป็นอาจารย์ เช่น ศาสตราจารย์ทางด้านการขนส่ง
  5. โอกาสเข้าสู่อาชีพที่เป็นสากล
  6. เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีความเป็นสากลอยู่แล้วทั้งทางด้านทฤษฏีและปฏิบัติ บัณฑิตจากสาขาวิชาการขนส่งระหว่างประทศ จึงมีโอกาสเข้าสู่อาชีพที่เป็นสากลทั้งด้านขนส่งและที่เกี่ยวข้องได้ กล่าวคือ

    • โอกาสทั่วไป
      - มีโอกาสเข้าสู่อาชีพทั้งในประเทศ ต่างประเทศ และในองค์การระหว่างประเทศ
    • โอกาสในประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะ
      - สามารถเข้าทำงานหรือประกอบธุรกิจขนส่งหรือที่เกี่ยวข้อง ในรัฐสมาชิกของอาเซียน ทั้งสำหรับธุรกิจขนส่งภายในอาเซียน (ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 พัฒนาเป็นประชาคมอาเซียน) และหรือระหว่างประชาคมอาเซียน กับประเทศคู่เจรจากับอาเซียน เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ยุโรป เป็นต้น
  7. แหล่งงานต่าง ๆ
  8. เนื่องจากความรู้ด้านการขนส่งเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งด้านทฤษฏีและปฏิบัติ สำหรับหน่วยงาน ทุกแห่งทั้งในประเทศ ต่างประเทศ รวมถึงองค์การระหว่างประเทศหรือสมาคมระหว่างประเทศ จึงมีแหล่งงานที่ต้องใช้บัณฑิตจากสาขาวิชาฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องลักษณะภาระงานในหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ ดังนี้

    • แหล่งงานในประเทศ
      • (1) หน่วยงานรัฐ (ราชการ / รัฐวิสาหกิจ)
        • หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ทั้งราชการและรัฐวิสาหกิจ
        • กระทรวงอื่นๆ ได้แก่กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะปรับเปลี่ยนเป็นหรือ กระทรวงเศษฐกิจและสังคมดิจิตอล (เช่น สำนักกิจการอวกาศ ) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม และ กทม. เป็นต้น
      • (2) หน่วยงานเอกชนด้านการขนส่ง
        • สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทเดินรถยนต์โดยสารและหรือรถยนต์บรรทุกสินค้า ท่าเรือเอกชน ท่าอากาศยานเอกชน สถานีขนส่งเอกชน ท่าเรือบก (Inland Cargo Depot)
        • ธุรกิจ Catering Supply Service สำหรับการขนส่ง / ธุรกิจคลังสินค้า
        • ธุรกิจอู่เรือ ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและซ่อมบำรุงอากาศยาน ธุรกิจอู่รถ และหรือบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์
        • ธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง และหรือสถานีบริการเชื้อเพลิง
        • บริษัทตัวแทน เช่น ตัวแทนการเดินทาง / ท่องเที่ยว (Travel / Tour Agent ) บริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า หรือ ไปรษณียภัณฑ์และพัสดุภัณฑ์ (Freight and /or Courier Forwarder)
      • (3) แหล่งงานอื่น ๆทั่วไป
        • มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
        • สถานประกอบการทั่วไป ทั้งวิสาหกิจของรัฐและหรือธุรกิจเอกชน
    • หน่วยงานในต่างประเทศ
      • สถานประกอบการธุรกิจขนส่งทุกประเภท เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทเดินรถขนส่งทางบก ท่าเรือ ท่าอากาศยาน สถานีขนส่งทางบก โรงกลั่นน้ำมัน ท่าเรือบก คลังสินค้า ฯลฯ
      • หน่วยงานอื่น ๆ เช่น มหาวิทยาลัย ฯลฯ
    • หน่วยงานที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศ
      • องค์การระหว่างประเทศทุกแห่ง เช่น ICAO, IMO, ESCAP, UNCTAD, UNDP, WTO, ฯลฯ
      • สมาคมระหว่างประเทศด้านขนส่ง เช่น IATA, ITA ฯลฯ